โรคไข้หวัดนก

โรคไข้หวัดนกคืออะไร
โรคไข้หวัดนกเกิดจากการติดเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่บางสายพันธุ์ที่พบในนกและสัตว์ปีก โดยอาการและความรุนแรงของโรคขึ้นกับสายพันธุ์ของไวรัสและชนิดของสัตว์ปีกที่ติดเชื้อ สายพันธุ์ที่มีความสำคัญคือ H5N1 ซึ่งทำให้สัตว์ปีกที่ติดเชื้อมีอาการรุนแรงและตายอย่างรวดเร็ว ปัจจุบันพบการระบาดของโรคไข้หวัดนกในหลายประเทศทั่วโลก ทั้งในสหรัฐอเมริกา ยุโรป เอเชีย และแอฟริกา ในประเทศไทยพบผู้ป่วยโรคไข้หวัดนกในปี พ.ศ.2547-2549 แต่หลังจากปี พ.ศ. 2549 เป็นต้นมายังไม่มีรายงานผู้ป่วยยืนยันโรคไข้หวัดนกจนถึงปัจจุบัน

สัตว์ชนิดใดบ้างที่สามารถติดเชื้อไข้หวัดนก
ไข้หวัดนกสามารถติดต่อได้ในสัตว์ปีกทุกชนิด ทั้งที่เป็นสัตว์ป่าและสัตว์เลี้ยง


โรคไข้หวัดนกติดต่อมาสู่คนได้อย่างไร
โรคไข้หวัดนกสามารถติดต่อจากสัตว์ปีกมาสู่คนได้ ทั้งจากการสัมผัสสิ่งคัดหลั่งจากสัตว์ปีกที่ป่วยโดยตรง เช่น อุจจาระ น้ำมูก น้ำลายของสัตว์ปีก หรือเกิดจากการสัมผัสสิ่งแวดล้อม พื้นผิวที่ปนเปื้อนเชื้อไวรัสจากสัตว์ปีกที่ป่วย สำหรับการติดต่อจากคนสู่คนมีโอกาสเกิดได้น้อยมาก 


ผู้ป่วยที่เป็นโรคไข้หวัดนกมีอาการอย่างไร
ผู้ที่มีความเสี่ยงต่อโรคไข้หวัดนก คือผู้ที่มีประวัติสัมผัสสัตว์ปีกในพื้นที่ที่มีการระบาดของโรคไข้หวัดนก ในช่วง 14 วันก่อนมีอาการ

ผู้ป่วยที่ติดเชื้อไข้หวัดนกมักมีอาการเด่นคือ ไข้ และอาการทางระบบทางเดินหายใจ ส่วนใหญ่มีอาการไอและหายใจเหนื่อยหอบจากปอดอักเสบ ผู้ป่วยบางรายอาจพบภาวะแทรกซ้อนทางปอดรุนแรงคือระบบทางเดินหายใจล้มเหลว นอกจากนี้อาจพบอาการทางระบบทางเดินอาหาร เช่น ท้องเสีย และอาจพบอาการทางระบบประสาท เช่น ซึม ชัก ในผู้ป่วยที่อาการรุนแรงมากจะมีภาวะการทำงานของหลายอวัยวะล้มเหลวและเสียชีวิตได้

กลุ่มผู้ป่วยที่มักจะมีอาการรุนแรงและเสียชีวิต คือ กลุ่มผู้ป่วยสูงอายุที่มีโรคประจำตัว เช่น ความดันโลหิตสูง  เบาหวาน โรคหัวใจ โรคตับ โรคไตเรื้อรัง เป็นต้น และกลุ่มหญิงตั้งครรภ์ 


มีวิธีการวินิจฉัยโรคอย่างไร
แพทย์ที่ทำการตรวจรักษาผู้ป่วยที่สงสัยติดเชื้อไข้หวัดนก จะเก็บสิ่งคัดหลั่งจากทางเดินหายใจและอุจจาระ ส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการที่กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ทั้งสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุขและศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ในส่วนภูมิภาค และห้องปฏิบัติการเครือข่าย ได้แก่ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล และคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย


มีวิธีการรักษาอย่างไร
ผู้ป่วยที่สงสัยว่าติดเชื้อไข้หวัดนก ควรได้รับการรักษาด้วยยาต้านไวรัสไข้หวัดใหญ่โดยเร็วที่สุด นอกจากนี้โรงพยาบาลจะต้องมีแนวทางการเฝ้าระวังและควบคุมการแพร่กระจายเชื้อโรค โดยหากเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลจะต้องใช้ห้องแยกโรค และใส่อุปกรณ์ป้องกันร่างกายอย่างเหมาะสม


การป้องกันทำได้อย่างไร
ปัจจุบันยังไม่มีวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดนก แต่แนะนำให้ฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ โดยเฉพาะในบุคลากรทางการแพทย์และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง

วิธีการป้องกันการติดเชื้อไข้หวัดนกที่ดีที่สุดคือ การหลีกเลี่ยงการสัมผัสสัตว์ปีกและสิ่งคัดหลั่งที่มาจากสัตว์ปีกโดยตรง หากมีการสัมผัสควรใช้สบู่ล้างมือให้สะอาด ส่วนผู้ที่ต้องทำงานกับสัตว์ปีกควรสวมอุปกรณ์ป้องกันการติดเชื้ออย่างเหมาะสม เช่น หน้ากากปิดจมูก ถุงมือ แว่นตา รวมทั้งล้างมือด้วยสบู่ให้สะอาดภายหลังสัมผัสสัตว์ปีกหรือเสร็จจากการทำงาน

นอกจากนี้อาจพิจารณาให้ยาต้านไวรัสไข้หวัดใหญ่ในบุคคลที่สัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วยหรือสัตว์ที่ป่วยเป็นโรคไข้หวัดนก โดยไม่ได้ใส่อุปกรณ์ป้องกันที่เหมาะสม
 

โรคไข้เลือดออก

ไข้เลือดออกคืออะไร

โรคไข้เลือดออก (Dengue Fever) คือ โรคติดต่อที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสเดงกี (Dengue Virus) โดยมียุงลายตัวเมียเป็นพาหะนำโรค ซึ่งมี 4 สายพันธุ์ ได้แก่ DENV-1, DENV-2, DENV-3 และ DENV-4 เมื่อยุงลายดูดเลือดจากผู้ป่วยที่อยู่ในระยะเป็นไข้และมีเชื้อไวรัสในกระแสเลือดจะฟักตัวภายใน 8 – 12 วัน เมื่อยุงที่มีเชื้อไวรัสเดงกีไปกัดคน เชื้อไวรัสในตัวยุงจะเข้าสู่กระแสเลือดของผู้ที่ถูกกัด ทำให้ติดเชื้อและป่วยเป็นโรคไข้เลือดออกได้ภายใน 3 – 15 วัน 


ไข้เลือดออกมีกี่ระยะ

โรคไข้เลือดออกแบ่งออกเป็น 3 ระยะ ได้แก่

  • ระยะไข้ (2 – 7 วันผู้ป่วยจะมีไข้สูงเฉียบพลันตลอดเวลา ปวดศีรษะ ปวดกระบอกตา ปวดกล้ามเนื้อ ปวดกระดูก ไม่มีน้ำมูกหรือไอ มีจุดเลือดเล็กบริเวณแขน ขา ลำตัว รักแร้ อาจเบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง ถ่ายอุจจาระสีดำร่วมด้วย
  • ระยะวิกฤติ (24 – 48 ชั่วโมงระยะนี้ไข้ที่สูงจะเริ่มลดลง แต่อาการจะทรงตัว ถ้าไม่มีภาวะแทรกซ้อนอาการจะเริ่มดีขึ้น แต่ถ้ามีภาวะแทรกซ้อนอาการจะแย่ลง อาจมือเท้าเย็น ชีพจรเต้นเบาลง ความดันต่ำ เลือดออกง่าย อาเจียนเป็นเลือด ฯลฯ อาจร้ายแรงถึงขั้นช็อกจนเสียชีวิต ดังนั้นหากมีไข้สูงติดต่อกันเกิน 2 วันแล้วอาการยังแย่ลง แนะนำให้รีบพบแพทย์ทันที
  • ระยะฟื้นตัว (หลังไข้ลด 24 – 48 ชั่วโมงเมื่ออาการพ้นระยะวิกฤติและเริ่มดีขึ้น ผู้ป่วยจะกลับมามีความดันปกติ ชีพจรเต้นตามปกติ รับประทานอาหารได้มากขึ้น แต่อาจมีผื่นแดง คัน และจุดเลือดเล็กตามลำตัว ซึ่งจะค่อย ๆ หายไปเอง

แนวทางการรักษาไข้เลือดออก

การรักษาโรคไข้เลือดออกไม่มียารักษา แต่เป็นการรักษาตามอาการและความรุนแรง หากสังเกตได้เร็ว รู้เร็ว ดูแลตัวเองได้เร็ว ย่อมช่วยให้หายได้ในเวลาไม่นาน และป้องกันอันตรายร้ายแรงถึงชีวิต 

  • เช็ดตัวเพื่อลดไข้ โดยใช้ผ้าชุบน้ำอุณหภูมิปกติบิดหมาด ๆ เช็ดที่ใบหน้า ซอกคอ รักแร้ ข้อพับ ขาหนีบ 
  • รับประทานยาลดไข้ ต้องเป็นยาพาราเซตามอลในกรณีที่มีไข้สูงเท่านั้น ห้ามรับประทานยาแอสไพรินหรือไอบูโพรเฟนเด็ดขาด และไม่ควรรับประทานมากเกินไปเพราะอาจเป็นพิษต่อตับ 
  • ดื่มน้ำให้มาก เพราะการมีไข้สูงหรืออาเจียน ทำให้ร่างกายขาดน้ำและโซเดียม อาจจิบน้ำเกลือแร่ครั้งละน้อย ๆ แต่บ่อย เพื่อชดเชยน้ำที่ร่างกายเสียไป
  • พบแพทย์ทันที ถ้ามีอาการรุนแรง อาทิ อาเจียนมาก ปวดท้องมากบริเวณชายโครงขวา กดแล้วเจ็บ ตัวเย็น มือเท้าเย็น กระสับกระส่าย เลือดออกตามเยื่อบุต่าง ๆ ซึมลง หายใจเหนื่อย ไม่รู้สึกตัว ควรนำส่งโรงพยาบาลโดยเร็วที่สุด

วิธีป้องกันไข้เลือดออก

การป้องกันโรคไข้เลือดออกสามารถทำได้โดยป้องกันไม่ให้ยุงกัด สวมเสื้อผ้าให้มิดชิด ทาโลชั่นหรือพ่นสเปรย์กันยุง เก็บของให้เป็นระเบียบ กำจัดแหล่งพาหะ ภาชนะเก็บน้ำมีฝาปิดเสมอ เปลี่ยนน้ำในแจกันหรือกระถางทุก ๆ 7 วัน และฉีดวัคซีนป้องกันไข้เลือดออกตามคำแนะนำของแพทย์


กลุ่มเสี่ยงที่จะเป็นไข้เลือดออกแล้วอาการรุนแรง

คนทุกเพศทุกวัยสามารถเป็นไข้เลือดออกได้ แต่กลุ่มเสี่ยงที่เมื่อเป็นแล้วอาการจะรุนแรงมากกว่ากลุ่มอื่น ได้แก่ ผู้สูงอายุ เพราะภูมิต้านทานต่ำและมีโรคประจำตัวหลายโรค ผู้ที่เป็นโรคอ้วน และผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น เบาหวาน หัวใจ ความดันโลหิตสูง ธาลัสซีเมีย เป็นต้น 

วัคซีนป้องกันไข้เลือดออกมีกี่แบบ

ปัจจุบันวัคซีนป้องกันไข้เลือดออกทุกสายพันธุ์ในประเทศไทยมี 2 ชนิด ได้แก่

  • ชนิดที่ 1 วัคซีนป้องกันไข้เลือดออกในผู้ที่เคยติดเชื้อไข้เลือดออกมาก่อน ใช้ได้ในผู้ที่มีอายุ 6 – 45 ปี โดยแนะนำให้ทำการตรวจเลือดก่อนฉีดวัคซีนในกรณีที่ไม่มีประวัติยืนยันการติดเชื้อ โดยจะฉีดทั้งหมด 3 เข็ม ห่างกันเข็มละ 6 เดือน
  • ชนิดที่ 2 วัคซีนป้องกันไข้เลือดออกในผู้ที่เคยและไม่เคยติดเชื้อไข้เลือดออกมาก่อน ใช้ได้ในผู้ที่มีอายุ 4 – 60 ปี สามารถฉีดได้ทุกคนโดยไม่จำเป็นต้องตรวจเลือด โดยจะฉีดทั้งหมด 2 เข็ม ห่างกันเข็มละ 3 เดือน 

ผลข้างเคียงที่พบหลังฉีดวัคซีนป้องกันไข้เลือดออก

หลังฉีดวัคซีนป้องกันไข้เลือดออกอาจมีอาการปวดบริเวณตำแหน่งที่ฉีดวัคซีน ปวดศีรษะ ปวดกล้ามเนื้อ
สามารถหายได้เองภายใน 1 – 3 วัน ไม่แนะนำให้ฉีดวัคซีนก่อนเวลาที่แพทย์นัดหมาย ควรมาตามนัดและฉีดให้ครบถ้วนเพื่อประสิทธิภาพของวัคซีน


ถ้าฉีดวัคซีนป้องกันไข้เลือดออกแล้วต้องฉีดซ้ำหรือไม่

วัคซีนป้องกันไข้เลือดออกเมื่อฉีดครบตามคำแนะนำของแพทย์แล้วไม่จำเป็นต้องฉีดซ้ำและฉีดเพียงชนิดเดียวก็เพียงพอแล้ว


หลังหายจากไข้เลือดออกสามารถฉีดวัคซีนป้องกันไข้เลือดออกเมื่อไร

ในกรณีที่หายป่วยจากไข้เลือดออก ร่างกายจะมีภูมิคุ้มกันต่อสายพันธุ์ที่เป็น จึงควรเว้นระยะห่างอย่างน้อย 6 เดือนก่อนฉีดวัคซีนป้องกันไข้เลือดออก เพื่อให้วัคซีนมีประสิทธิภาพสูงสุด


ไข้เลือดออกเป็นซ้ำได้กี่ครั้ง

ไวรัสเดงกีมีถึง 4 สายพันธุ์ ได้แก่ DENV-1, DENV-2, DENV-3 และ DENV-4 ซึ่งมีความแตกต่างกันจึงมีความเป็นไปได้ที่จะเป็นไข้เลือดออกซ้ำได้ถึง  ครั้ง เมื่อเป็นไข้เลือดออกครั้งแรกแล้วจะมีภูมิคุ้มกันต่อสายพันธุ์นั้นเท่านั้น แต่อีก 3 สายพันธุ์ยังมีโอกาสที่จะเป็นได้ ถึงแม้จะมีภูมิคุ้มกันก็ยังมีโอกาสเป็นไข้เลือดออกจากสายพันธุ์เดิมได้ เพียงแต่อาการและความรุนแรงจะลดลง แต่หากเป็นไข้เลือดออกซ้ำจากเชื้อไวรัสเดงกีสายพันธุ์ใหม่อาการและความรุนแรงจะเพิ่มขึ้น ซึ่งอันตรายถึงขั้นเสียชีวิตได้

 

Attachments:
Download this file (ไข้เลือดออก.jpg)ไข้เลือดออก.jpg[ ]111 Kb

ประกาศ เรื่อง แผนอัตรากำลัง 3 ปี ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2567-2569

ประกาศองค์การบริหารส่วนตำบลโรงหีบ เรื่อง แผนอัตรากำลัง 3 ปี ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2567 - 2569 

สื่อประชาสัมพันธ์ โรค มือ เท้า ปาก ในเด็ก

ระวังโรค มือ เท้า ปาก หน้าฝนนี้ ดูแลเด็กๆ อย่างใกล้ชิด เกิดจากเชื้อเอนเทอโรไวรัส พบมากในเด็ก อายุต่ำกว่า 5 ขวบ ส่วนมากเกิดในสถานที่ ที่มีเด็กจำนวนมาก เช่น ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก โรงเรียนอนุบาล สวนสนุก

Attachments:
Download this file (info542_fon_5.jpg)info542_fon_5.jpg[ ]244 Kb

ภัยสุขภาพจากฝุ่น p.m 2.5

ฝุ่น PM 2.5 เป็นฝุ่นละอองที่มีขนาดเล็กกว่า 2.5 ไมครอน ซึ่งขนาดที่เล็กมากนี้จะสามารถหลุดรอดการกรองของขนจมูก ผ่านเข้าสู่ทางเดินหายใจเข้าไปยังถุงลมฝอยและแทรกซึม ผ่านเข้าไปยังหลอดเลือดฝอย และเข้าสู่กระแสเลือดได้ ทำให้เกิดโรคในหลายระบบต่างๆของร่างกาย

สาเหตุที่ทำให้เกิดฝุ่น PM2.5

  • ไฟป่า การเผาขยะ การเผาเพื่อทำการเกษตรในที่โล่ง เช่น การเผาไร่อ้อย เผาวัชพืชต่าง ๆ
  • ควันที่เกิดจากการทำอุตสาหกรรมต่าง ๆ และฝุ่นจากการก่อสร้าง
  • การขนส่งและคมนาคม เช่น ควันจากท่อไอเสีย การเผาไหม้ที่ไม่สมบูรณ์ของเครื่องยนต์
  • การผลิตไฟฟ้า เช่น การเผาปิโตรเลียมและถ่านหิน
  • กิจวัตรต่าง ๆ ของคน เช่น สูบบุหรี่ การจุดธูปเทียน เผากระดาษ การใช้เครื่องถ่ายเอกสาร

ด้วยขนาดที่เล็กมาก ทำให้ฝุ่นละอองพิษ PM2.5 สามารถถูกสูดเข้าลึกถึงทางเดินหายใจและปอด  บางอนุภาคยังอาจเข้าสู่กระแสเลือดไหลเวียนไปทั่วร่างกาย ก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพมากมาย  

การสัมผัสในระยะสั้น

  • ทางเดินหายใจอักเสบ หายใจลำบาก แสบจมูก ไอมีเสมหะ แน่นหน้าอก ถุงลมแฟบ สมรรถภาพปอดลดลง ภูมิแพ้และหืดกำเริบ
  • ทำลายภูมิคุ้มกัน เกิดการติดเชื้อในปอด และทางเดินหายใจได้ง่าย เช่น ไข้หวัดใหญ่, หลอดลมอักเสบ, หูอักเสบ
  • พัฒนาการเด็กล่าช้า
  • ผลต่อระบบสืบพันธุ์ ทำให้มีบุตรยาก

การสัมผัสในระยะยาว

  • โรคมะเร็งปอด
  • การอักเสบของเส้นเลือด อาจเกิดโรคหัวใจขาดเลือด โรคอัมพาตจากหลอดเลือดสมอง ความดันโลหิตสูง เบาหวาน
  • โรคหลอดลมอุดกั้นเรื้อรัง
  • โรคทางผิวหนังหรือตาอักเสบ
  • ผิวมีจุดด่างดำและรอยย่น ดูแก่กว่าวัย

กลุ่มเสี่ยงอันตรายจากฝุ่นพิษ

เด็ก อาจกล่าวได้ว่ายิ่งอายุน้อย ยิ่งเพิ่มความเสี่ยงมากขึ้น  เนื่องจากเด็กเล็กมีภูมิคุ้มกันโรคน้อยกว่าผู้ใหญ่ อวัยวะต่างๆ ในร่างกายยังอยู่ในระยะที่กำลังพัฒนา ทั้งนี้ฝุ่นพิษในอากาศที่สามารถเข้าสู่ระทางเดินหายใจและกระแสเลือดได้ง่ายจะไปขัดขวางการเจริญเติบโตของระบบต่างๆ  หรือทำให้เกิดโรคร้ายแรงในที่สุด

หญิงมีครรภ์ นอกจากภัยร้ายส่งผลต่อตัวคุณแม่ตั้งครรภ์ที่สูดฝุ่นละอองโดยตรงแล้ว ทารกในครรภ์ยังเป็นอันตรายด้วยเช่นกัน  มีการศึกษาพบว่ามลพิษในอากาศมีผลต่อการคลอดก่อนกำหนด  เสี่ยงแท้งบุตร และเพิ่มอัตราการตายของทารกในครรภ์ได้

ผู้สูงอายุ เมื่ออายุมากขึ้น อวัยวะเริ่มเสื่อมถอย ระบบการทำงานต่างๆ ในร่างกายลดลง ส่งผลให้ภูมิคุ้มกันลงดลง หากต้องเผชิญกับฝุ่นละออง อาจมีแนวโน้มเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหอบหืด โดยเฉพาะผู้สูงอายุที่มีโรคประจำตัว ควรหลีกเลี่ยงการเผชิญฝุ่นพิษให้มากที่สุด

ผู้ป่วยหรือมีโรคประจำตัว โดยเฉพาะผู้ป่วยโรคทางเดินหายใจ โรคปอด และโรคหัวใจชนิดต่างๆ การสูดฝุ่นผงเข้าสู่ร่างกายโดยตรงส่งผลให้โรคกำเริบ อาจถึงกับชีวิตได้  

การป้องกัน

  • ติดตามรายงานสภาพอากาศและระดับ PM 5 อย่างสม่ำเสมอ
  • ในบ้านหรืออาคารควรใช้เครื่องฟอกอากาศที่สามารถกรองฝุ่น PM 5 ได้
  • สวมหน้ากากอนามัยทางการแพทย์ หรือสวมหน้ากาก N95 เมื่อต้องออกจากบ้านหรืออาคาร
  • สวมแว่นกันลม กันฝุ่น สวมเสื้อแขนยาวมิดชิด
  • ลดเวลาการอยู่นอกบ้าน/อาคาร โดยเฉพาะกลุ่มที่มีความเสี่ยงต่อ PM 5 สูง เช่น เด็ก หญิงตั้งครรภ์ คนชรา ผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัว ได้แก่ โรคภูมิแพ้ โรคปอด โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง และโรคไตเรื้อรัง
  • หลีกเลี่ยงการออกกำลังกายกลางแจ้ง

ทั้งนี้การใส่หน้ากากให้ได้ประสิทธิภาพในการป้องกันฝุ่น PM 2.5 ต้องใส่ให้ถูกวิธีและกระชับกับใบหน้าของผู้สวมใส่ด้วย

บทความ อื่นๆ ...

Thai Arabic Chinese (Traditional) English French German Indonesian Japanese Korean Vietnamese
















เว็บไซต์ที่น่าสนใจ









พยากรณ์อากาศสมุทรสงครามวันนี้













 

คุณพึงพอใจอบต.โรงหีบ ด้านใด























QR Code
อบต.โรงหีบ

ลิขสิทธิ์ © 2560 องค์การบริหารส่วนตำบลโรงหีบ จังหวัดสมุทรสงคราม สงวนไว้ซึ่งสิทธิทั้งหมด.
องค์การบริหารส่วนตำบลโรงหีบ อำเภอบางคนที จังหวัดสมุทรสงคราม โทร 0-3470-2840