Joomla gallery by joomlashine.com
Flash
01.jpg
02.jpg
03.jpg
04.jpg
05.jpg
06.jpg
07.jpg
08.jpg
09.jpg
10.jpg
จากการบอกเล่าของคนในพื้นที่ในอดีตพื้นที่ตำบลโรงหีบเป็นป่า ไม่มีคนอาศัยอยู่ ต่อมามีประชาชนอพยพมาจากพื้นที่จังหวัดใกล้เคียง มาปรับพื้นที่เพาะปลูกเป็นนาข้าว เนื่องจากมีน้ำอุดมสมบูรณ์จากแม่น้ำแม่กลอง ต่อมาพื้นที่ดินเสื่อมสภาพ ประชาชนจึงเปลี่ยนปรับพื้นที่มาทำการปลูกอ้อย จนกระทั่งมีชาวจีนได้ล่องเรือมา และทำการค้าขายและซื้ออ้อยจากประชาชนในพื้นที่ เพื่อส่งโรงงานน้ำตาลที่จังหวัดราชบุรี และชาวจีนได้เข้ามาอยู่ในพื้นที่และได้ขุดคลองโรงหีบ หมู่ที่ 6 เพื่อให้เรือสามารถเข้าถึงไร่อ้อยได้สะดวกขึ้น และได้สร้างโรงหีบอ้อยอยู่ที่หมู่ที่ 6 ซึ่งต่อมาสภาพดินและสภาพอากาศเปลี่ยนไป การปลูกอ้อยไม่ได้ผล ประชาชนจึงหันมาปลูกไม้ยืนต้น คือมะพร้าว ส้มโอ เป็นต้น และโรงหีบอ้อยได้เลิกกิจการ และรื้อถอนออกไป โรงหีบอ้อยที่ได้สร้างไว้ในอดีตจึงเป็นที่มาของชื่อตำบลโรงหีบมาจนถึงปัจจุบัน
ในการจัดรูปแบบการบริหารงานบุคคลในครั้งสุดท้ายคือ ระเบียบสภาตำบลตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 326 ลงวันที่ 13 ธันวาคม 2515 นั้นยังไม่อาจปฏิบัติงานให้เกิดประสิทธิภาพได้ จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2535 รัฐบาลมีนโยบายที่จะกระจายอำนาจลงสู่ท้องถิ่นและปรับปรุงฐานะของสภาตำบลให้เป็นนิติบุคคลเพื่อให้สามารถบริหารการพัฒนาตำบลได้ด้วยตนเอง กระทรวงมหาดไทยจึงได้ประกาศใช้พระราชบัญญัติ สภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 และมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 2 มีนาคม 2538 เป็นต้นมา ซึ่งมีผลให้สภาตำบลโรงหีบได้จัดตั้งเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลโรงหีบ เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2540